นวราตรี : พระแม่ไศลปุตรี ปางที่ 1 แห่งพระแม่นวทุรคา

นวราตรี (ฮินดี: नवरात्री คุชราต: નવરાત્રી ଓଡ଼ିଶା [oˑɽisaˑ]), เบงกอล: নবরাত্রী กันนาดา: ನವರಾತ್ರಿ มราฐี: नवरात्री ปัญจาบ: ਨਰਾਤੇ แคชเมียร์: نَورات / नवरात เตลูกู: నవరాత్రీ ทมิฬ: நவராத்திரி มลยาฬัม: നവരാത്രി) เป็นเทศกาลที่อุทิศตนเพื่อ การสักการบูชาประจำปีแด่พระแม่ทุรคา คำว่า นวราตรีนั้น หมายถึงคำว่า 'เก้าคืน' ในภาษาสันสกฤต . ในช่วงเก้าคืนนี้จะมีการบูชา พระแม่ทุรคาและพระแม่ปารวตีในภาคปางต่างๆเก้าปางด้วยกัน และในวันสุดท้าย คือ วันที่สิบมักจะเรียกว่าเป็น วันวิชยาทศมี (อังกฤษ: Vijayadashami) หรือ "วันดุเซร่า" (อังกฤษ: Dussehra) ซึ่งเป็นวันที่สำคัญสุดของเทศกาลนี้ และมีการเฉลิมฉลองทั่วไปทั้ง ประเทศอินเดีย.

กำหนดการพิธีนวราตรีและงานแห่ประเพณีประจำปี 2562 (วัดพระศรีมหาอุมาเทวี วัดแขกสีลม)<<<คลิ๊ก

การสำแดงของพระแม่ทุรคา เป็นที่รู้จักในชื่อของพระนางในการคุ้มครองจักรวาลโดยการภวานา (ปกติ108ครั้งในแต่ละคืนในเทศกาลรวราตรี)

ปางที่ 1 
  • พระแม่ไศลปุตรี
ประวัติความเป็นมาของพระองค์: หลังจากที่พระสตีได้เผาตัวเองตายในพิธียันยะ เนื่องจากพระบิดาของพระนางคือท้าวทักษะประชาบดีได้ดูหมิ่นพระศิวะซึ่งเป็นพระสวามีของพระนาง พระแม่อทิศักติจึงได้แบ่งภาคลงมาเป็นบุตรีของท้าวหิมวัตแห่งเทือกเขาหิมาลัยและพระนางไมยนา
ความหมายพระนามของพระองค์: ปุตรี หมายถึง ธิดาหรือลูกสาว ไศละ แปลว่า ภูขา ดังนั้น คำว่าไศลปุตรีจึงแปลได้ว่า ธิดาแห่งขุนเขา
วันที่บูชาพระองค์: วันแรกหรือคืนแรกของเทศกาลนวราตรี
ดาวเคราะห์ที่ควบคุม: ดวงจันทร์
มนตร์ประจำพระองค์: โอม เดวี ชัยลปุตรีไย นะมะห์ ॐ देवी शैलपुत्र्यै नमः॥
ภาพลักษณ์ของพระองค์: พระแม่ไศลปุตรีมีพระหัตถ์สองข้างและมีพระจันทร์เสี้ยวบนพระเศียรของพระองค์ ทรงฉลองพระองค์ด้วยพระภูษาสีชมพู พระองค์ทรงถือตรีศูลในพระหัตถ์ขวาและทรงถือดอกบัวในพระหัตถ์ซ้าย และพระองค์ทรงประทับบนโคนันทิ




0 ความคิดเห็น